Assumption College Nakhonratchasima,
  [ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

การพัฒนาชีวิตด้วยแนวคิด BSC และ PIs (ม.สมศักดิ์ จำลอง)
          กระแสของเครื่องมือการจัดการสมัยใหม่ที่เรียกว่า  Balanced  Scorecard :  BSC และตัวชี้วัดงานหลัก  (  Key  Performance Indicators ;  KPIs  )  กำลังมาแรง จึงอยากเสนอแนะให้คุณผู้อ่านฉกฉวยโอกาสของกระแสเข้ามาใช้ประโยชน์ในชีวิตให้มากขึ้น
          ในความเป็นจริงแล้วไม่เพียงแต่เครื่องมือการจัดการที่กล่าวถึงเท่านั้น  ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีคุณประโยชน์และสามารถนำมาสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับชีวิตของเราได้  แม้แต่มดหนึ่งตัวที่กำลังขนดินไปทำรังก็สามารถให้แนวคิดในการดำเนินชีวิตกับเราได้ว่า  ความพยายามแม้จะเล็กน้อย  แต่พยายามบ่อย ๆ  วันหนึ่งความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ก็จะมาถึงเอง ต้นไม้ต้นหญ้ายังแย่งกันชูใบชูช่อเพื่อรับแสงอาทิตย์  แล้วชีวิตเราไม่คิดจะเติมโตขึ้นไปสูง  ๆ  บ้างเลยหรือ
            ลองมาดูแนวคิดแบบ  BSC  นี้จะนำมาใช้บริหารชีวิตอย่างไร  BSC  มุ่งเน้นการบริหารองค์กรโดยการการสร้างความสมดุลในทก  ๆ  ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน  ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการจัดการภายใน และด้านการพัฒนาคุณภาพบุคลากร  BSC  เน้นการบริหารความสมดุลระหว่างเป้าหมายระยะสั้น  ระยะปานกลาง  และระยะยาว  นอกจากนี้เมื่อกำหนดเป้าหมายแล้ว  ก็ต้องสร้างความสมดุลของเป้าหมายโดยการทำผลงานจริงให้เกิดขึ้นเท่ากับหรือมากกว่าเป้าหมายที่ต้องการ
              สำหรับตัวชี้วัดผลงานหลักหรือตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญ  (  Key  Performance Indicators ;  KPIs  )    นั้น  หมายถึงเครื่องบ่งชี้ย่อยที่จะบอกเราว่าเป้าหมายของ  BSC  แต่ละด้านนั้นบรรลุหรือไม่ มากน้อยเพียงไร  เช่น  จะทราบได้อย่างไรว่า  เป้าหมายด้านการเงินดีหรือไม่ดี  ตัวชี้วัดต้นทุน ฯลฯ
              การพัฒนาคุณภาพชีวิตก็เช่นเดียวกัน  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นใน  4  ด้านดังนี้
1.ด้านการเงิน  ( finance  perspective )
2.ด้านสังคม  ( social  perspective )
3.ด้านร่างกาย( physical  perspective )
4.ด้านจิตใจ( psychology  perspective )
ด้านกานเงิน
        มุมมองด้าน  BSC  ของชีวิตด้านนี้เป็นการตอบสนองคำถามที่ว่า ชีวิตต้องการอะไรบ้าง  ซึ่งอาจจะได้คำตอบไม่ตรงกัน  ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเป้าหมายสุดท้ายของชีวิตแต่ละคน(เปรียบเสมือนวิสัยทัศน์ขององค์กร)  บางคนต้องการการยอมรับจากสังคม  ดังนั้นมุมมองด้านการเงินจึงเป็นเพียงส่งหล่อเลี้ยงชีวิตให้อยู่รอดเท่านั้น  สำหรับ  KPls  หรือตัวชี้วัดความสำเร็จด้านการเงินอาจจะวัดจากตัวชี้วัดดังนี้
1.จำนวนเงินที่หาได้ในแต่ละช่วงเวลา  (เดือนหรือปี)  ว่าได้ตามเป้หมายหรือไม่
2.จำนวนเงินที่เป็นหนี้ไม่ควรเกิน  10  %  ของรายได้
3.จำนวนเงินออมต่อเดือนไม่น้อยกว่า  20  %  ของรายได้
4.จำนวนเงินสำหรับการผ่อนคลายกับการสังสรรค์  (  entertainment )    (  ดูภาพยนตร์  ฟังเพลง ฯลฯ )  ไม่เกิน  5%  ของรายได้
ด้านสังคม
        ด้านสังคม หมายถึง  การบริหารชีวิตให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  ไม่ว่าจะเป็นสังคมภายในครอบรัว สังคมทำงาน  หรือสังคมทั่ว  ๆ  ไป  เพราะถ้าเราไม่ให้ความสำคัญกับด้านนี้แล้ว  จะส่งผลกระทบต่อด้านต่าง  ๆ  มากเช่นกัน  สำหรับตัวชี้วัดความสำเร็จทางด้านสังคมอาจจะวัดจากตัวชี้วัด ดังนี้
1.จำนวนครั้งที่ช่วยเหลือผู้อื่น
2.จำนวนความขัดแย้งกับคนในสังคม
3.จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
4.จำนวนครั้งที่ทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัว
5.ฯลฯ
ด้านร่างกาย
        ด้านร่างกาย  หมายถึง  การดูแลบำรุงรักษาร่างกายให้มีความพร้อมหรืออยู่ในสภาพปกติอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าร่างกายจะไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่จะบ่งบอกว่าคนเราจะประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน แต่ร่างกายสามารถทำลายความสำเร็จในชีวิตได้  เช่น  คนบางคนกำลังมีชื่อเสียง  มีเงินมีทอง  แต่ถ้าร่างกายย่ำแย่แล้วสิ่งอื่นๆ  ก็จะค่อยจางหายไปด้วย  สำหรับตัวชี้วัดความสำเร็จทางด้านร่างกายมีดังนี้
1.จำนวนครั้งในการเจ็บป่วยต่อปี
2.จำนวนครั้งที่ต้องไปโรงพยาบาล
3.จำนวนครั้งที่ต้องหยุดพักรักษาตัวต่อปี
4.จำนวนครั้งในการออกกำลังกายต่อเดือน
5.ฯลฯ
ด้านจิตใจ
        ด้านจิตใจหมายถึง การบริหารสมองและอารมณ์ (IQ&EQ) เป็นการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาให้สมองถูกดึงออกมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องสมารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกได้ดีด้วย คนหลายคนละเลยในการดูแลชีวิตในด้านนี้ หลายคนขาดการพัฒนาศักยภาพของสมอง นับวันมีแต่เสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ เท่านั้นยังไม่พอ การควบคุมอารมณ์กลับผกผันตรงกันข้ามคือ มีอาการ “สติแตก”  มากขึ้น เราจะเห็นว่าคนหลายคนในบางช่วงของวัยประสบความสำเร็จในหน้าที่การเงินสูงมาก แต่เมื่อวันหนึ่งสมองเสื่อมลง อารมณ์เสียมากขึ้น ความชื่นชมในอดีตก็ค่อย ๆ จางหายไปเช่นกัน สำหรับตัวชี้วัดผลความสำเร็จด้านจิตใจมีดังนี้
1.จำนวนครั้งที่ควบคุมอารมณ์ได้
2.จำนวนครั้งที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
3.เปอร์เซ็นต์ของเวลาต่อสัปดาห์ที่ใช้สำหรับการคิดสร้างสรรค์ (พัฒนาสมอง)
4.จำนวนความคิดใหม่ที่เกิดขึ้นต่อเดือน หรือต่อปี
5.ฯลฯ

          สรุปว่าการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเราไม่แตกต่างอะไรไปจากการพัฒนาองค์กร เพราะชีวิตต้องมีวิสัยทัศน์ (VISION) มีเป้าหมาย (GOAL) ต้องกำหนดกลยุทธ์ (STRATEGY) ต้องบริหารชีวิตอย่างเป็นระบบ ชีวิตต้องมีการเปรียบเทียบ (BENCHNARKING) กับคนที่เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จ (BEST PRACTICE)
          ผมอยากฝากถึงคนทำงาน และผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ ว่า ถ้าจิ๊กซอว์ส่วนเล็ก ๆ ขององค์กร (ชีวิตแต่ละคน) ยังขาดระบบในการบริหารตัวเองแล้ว โอกาสที่ภาพจิ๊กซอว์ในระดับองค์กรจะประสบผลสำเร็จนั้นคงมีน้อยมาก จึงอยากจะให้ทุกคนและทุกองค์กรมุ่งเน้นการพัฒนาคนตั้งแต่ระดับรากหญ้าก่อน เช่น ถ้าทุกคนนำ BSC และ KPIs ไปใช้ในชีวิตแล้วคงไม่ยากที่จะตอบว่าการใช้ BSC และ KPIs ในองค์กรเป็นเรื่องที่ง่าย


“ชีวิตจะก้าวหน้าไม่ได้ ถ้าขาดเป้าหมายและตัวชี้วัด”







โดย: มาสเตอร์  สมศักดิ์    จำลอง (ออกเมื่อวันที่ 06 ธันวาคม 2557)
งาน: กลุ่มสาระฯ คณิตศาสตร์ มัธยมฯ
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: กล้าเปลี่ยนแปลง โดย ณรงค์วิทย์ แสนทอง

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 1

อ่าน 0 ครั้ง


ติดตามข่าวจากหน้า Facebook Fan Page
แบ่งปันหน้านี้