การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ : ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน
หัวใจของการจัดการศึกษา คือ คุณภาพการศึกษา ผู้ที่ทำให้เกิดคุณภาพการศึกษา คือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ภายในโรงเรียนประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ภายนอกโรงเรียนได้แก่ รัฐบาล กระทรวงฯ ผู้ปกครอง ชุมชน บุคคลที่มีความสำคัญมากที่สุดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือครู ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอน จะต้องมุ่งมั่นในการจัดและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถเต็มตามศักยภาพ ครูจะต้องมีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย ต้องใช้การวิจัยเป็นงานเสริม และพัฒนาการสอน ต้องใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ หรือกระบวนการจัดการเรียนการสอน
สาเหตุที่ครูต้องทำงานวิจัย เพราะ การเรียนรู้ไม่เป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้ หรือเกิดปัญหาทางการเรียนรู้ เมื่อเกิดปัญหาครูจึงต้องหาวิธีหรือกระบวนการมาแก้ปัญหา ซึ่งก็คือการวิจัยนั่นเอง และพรบ.การศึกษา พ.ศ. 2542 มาตรา 30 ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน มาตรา 24(5) ให้ครูผู้สอนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัย เป็นกระบวนการสืบค้นหาข้อเท็จจริง หาคำตอบเป็นองค์ความรู้ใหม่
การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยเพื่อมีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของผู้เรียนหรือเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มีความหมาย คือ การวิจัยเป็นปฏิบัติการที่ครูแสวงหาวิธีการ หรือหานวัตกรรม ทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้เกิดประโยนช์สูงสุดต่อเรียน
ขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียน
1. การวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้
2. การเลือกนวัตกรรมหรือวิธีการแก้ปัญหา
3. การออกแบบและสร้างนวัตกรรมหรือวธีการแก้ปัญหา
4. การใช้นวัตกรรมหรือวิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนา
5. การสรุปและรายงานผลการวิจัย
ปัญหาวิจัย หมายถึง ประเด็น ข้อสงสัย หรือคำถามที่ครูต้องดำเนินการเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง ด้วยกระบวนการวิจัย
นวัตกรรมการเรียนรู้ คือแนวคิด วิธีการ กระบวนการหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ อาจเป็นสิ่งที่มีการใช้ทั่วไปที่แห่งหนึ่งแล้ว หากนำมาใช้ ปรับปรุงและพัฒนาให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในที่อีกแห่งหนึ่งก็ได้
การออกแบบนวัตกรรม จะช่วยให้ครูมองเห็นภาพโครงสร้างส่วนประกอบต่างๆของนวัตกรรมทั้งหมด
การใช้นวัตกรรมเป็นการนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลตามเป้าหมายที่กำหนด เพื่อสังเกตผล หรือเก็บรวบรวมข้อมูลและนำไปวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลและเขียนรายงานการวิจัยต่อไป
สรุปผลการวิจัยเป็นการสรุปผลข้อค้นพบ หรือผลการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาผู้เรียนว่าเป็นอย่างไร
การวางแผนการวิจัย
การวางแผนการวิจัยเป็นการกำหนดกรอบแนวคิด และแนวทางในการทำงานงานวิจัยในชั้นเรียนไว้ล่วงหน้า ซึ่งการวางแผนการวิจัยมักจะเขียนในรูปโครงการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย
1) ชื่อเรื่องวิจัย 2) ความสำคัญของปัญหา 3) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 4) ตัวแปรที่ศึกษา
5) นิยามคำศัพท์ 6) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 7) วิธีดำเนินการวิจัย 8) แผนปฏิบัติการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นกระบวนการจัดทำกับข้อมูลที่ผู้วิจัยรวบรวมมาได้ โดยนำมาจัดระเบียบ จำแนกหมวดหมู่ คำนวณค่า สรุป และนำเสนอให้อยู่ในรูปที่เหมาะสม สื่อความหมายได้ เพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งการดำเนินการเป้นดังนี้
วิธีการเก็บข้อมูล เช่น การทดสอบ การสังเกต การสอบถาม การสัมภาษณ์ แบบสอบถามเป็นต้น
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ใช้วิธีทางสถิติผความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนฯ สหสัมพันธ์
สมัประสิทธิ์ การเปรียบเทียบ เป็นต้น
การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน
การเขียนรายงานเป็นการนำเสนอผลการวิจัยที่ได้เรียบเรียงขึ้นหลังการปฏิบัติงานวิจัยเสร็จแล้ว เพื่อบอกถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน วิธีแก้ไขปัญหา การปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหา และผลของการแก้ปัญหา
หลักในการเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน
1) ความถูกต้อง เนื้อหาที่เขียนถูกตามหลักวิชา หลักภาษา
2) ความครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อหา
3) ความเป็นเอกภาพ เนื้อหาทุกบทต้องเป็นเรื่องเดียวกัน
4) ความสอดคล้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ระหว่างเนื้อหาแต่ละหัวข้อ แต่ละตอน
5) ความคงเส้นคงวาในการใช้คำ วลี หรือข้อความ
6) ความตรงประเด็น มุ่งตอบตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
7) ความชัดเจน ของภาษาเข้าใจง่าย
รูปแบบการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน
1.รูปแบบไม่เน้นวิชาการ
มีความยึดหยุ่น นำเสนอสั้นๆเพียง 1-2 หน้า นำเสนอปัญหาที่ต้องแก้ไขหรือพัฒนา
วิธีการแก้ไขหรือพัฒนา และผลการแก้ไขหรือพัฒนา
2.รูปแบบกึ่งวิชาการ
นำเสนอ ชื่อเรื่อง ความสำคัญของปัญหาวิจัย ปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ประโยนช์ของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย และ การสะท้อนผลการวิจัย
3.รูปแบบเชิงวิชาการ
นำเสนอ เนื้อหา 5 บท ประกอบด้วย บทนำ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินงานวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ และ ส่วนอ้างอิง(บรรณานุกรม)
เอกสารอ้างอิง
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ : ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร, 2544
|